วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

บทนำอาหารไทย


 อาหารไทยเป็นอาหารที่นิยมและแพร่หลายไปทั่วโลก ชาวต่างชาติในแต่ละทวีปทั่วโลกต่างติดในรสชาติของอาหารไทยซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าอาหารไทยเป็นที่นิยมของผู้คนจริงๆ เนื่องด้วยรสชาติที่เป็นสากลการปรุงอย่างพิถีพิถัน ฉะนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่าชาวต่างชาติหลายคนถึงกับบินมาประเทศไทยเพื่อที่ชิมรสชาติอันแสนอร่อยของอาหารไทย


















    นอกจากรสชาติที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลกแล้ว อาหารไทยยังแบ่งออกเป็นอาหารแต่ละภาค ซึ่งรสชาติ และลักษณะของอาหารก็จะแตกต่างกันไปตามแหล่งที่อยู่ แต่ทุกภาคล้วนแต่มีความอร่อยไม่แพ้กัน













น้ำพริกอ๋องและน้ำพริกหนุ่มกินคู่กับผักลวกและแคบหมู
ทางภาคเหนือเนืองด้วยลักษณะความเป็นอยู่และวัฒนธรรมแล้วจะเป็นอาหารที่จะจัดหามาง่ายๆไม่ยากนัก วัตถุดิบในการประกอบอาหารส่วนมากก็จะเป็นผัก พืชพันธุ์ ที่หาได้ง่ายตามทุ่งนา รสชาติอาหารทางเหนือส่วนมากจะเป็นอาหารที่ไม่ใส่น้ำตาล และรสไม่จัดมาก ความหวานส่งนใหญ่จึงได้จาก ผักต่าง ที่นำมาปรุงแล้วใหความหวานแทนน้ำตาล ส่วนเนื้อสัตว์เองก็จะเป็นเนื้อสัตว์ที่เป็นสัตว์ท้องถิ่นตามแหล่งที่อยู่ เช่น กุ้งน้ำจืด ปลาน้ำจืด หมู ไก่ วัว กบ เป็นต้น โดยที่สัตว์ทะเลจะไม่ค่อยเป็นส่วนประกอบทางภาคเหนือมากเท่าไหร่ คนทางภาคเหนือส่วนใหญ่จะรับประทานข้าวเหนียวคู่กับกับข้าว โดยจัดเป็นขันโตกและรับประทานร่วมกันภายในครอบครัวเป็นส่วนมาก



ส้มตำปลาร้า
ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่ความแห้งแล้งมากที่สุดประเทศในสมัยก่อน ปัจจุบันทางภาคอีสานได้ฟื้นฟูลักษณะภูมิประเทศและการเปลี่ยนแปลงอาชีพของคนทางแทบภาคนี้ไปอย่างมากทำให้ภาคอีสานไม่แห้งแล้วเหมือนเมื่อก่อน ส่วนอาหารทางภาคอีสานจะเป็นอาหารที่หาได้ง่ายๆเช่นเดียวกับทางภาคเหนือ เน้นไปทางรสจัดขึ้นมาจากภาคเหนือ โดยวัตถุดิบของทางภาคอีสานส่วนมากจะเป็น สัตว์ที่หาได้ง่ายตามแหล่งชุมชน ลูกอ๊อด กุ้งฝอย อึ่งอ่าง ปูนา หอยโข่ง หอยขม กระต่าย หนู กิ้งก่า แย้ งู จนกระทั่งนกต่าง โดยมีเนื้อหมู ไก่ ปลา บ้าง และอาหารของทางภาคนี้ที่เราขาดไม่ได้นั่นก็คือ ส้มตำ ที่แสนอร่อยนั่นเอง คนอีสานสวนใหญ่ จะรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลักเช่นเดียวกับคนเหนือแต่วิธีการนึ่งข้าวจะแตกต่างไป โดยนึ่งข้าวโดยใช้หวดซึ่งเป็นภาชนะรูปกรวยทำด้วยไม้ไผ่มานึ่งข้าว


ข้าวแช่
ภาคกลางเป็นจะเป็นภาคที่แตกต่างไปจากภาคอื่่น เนืองจากเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่นเนืองจากเป็นที่ราบลุ่มและเป็นแหล่งที่ตั้งของเมืองหลวงทั้งในสมัยโบราณและปัจจุบัน ทำให้อาหารทางภาคนี้จะเป็นอาหารที่ไม่รสจัดจนเกินไป และไม่จืดจนเกินไป เนื่องจากเป็นอาหารที่เน้นไปทางให้เจ้าขุนบุญนายรับประทาน รวมถึงพระมหากษัตริย์ด้วยเช่นกัน จึงมีการคิดค้นอาหารให้ดูแปลกใหม่และน่ารับประทานมากกว่าภาคอื่น โดยที่อาหารทางภาคกลางนี้ส่วนมาเป็นอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ ลักษณะการรับประทานของคนภาคกลางจะรับประทานอาหารโดยมีกับข้าวและทานกับข้าวสวย เนื่องจากทางภาคกลางเป็นที่ราบลุ่ม และมีการทำการเกษตรโดยการปลูกข้าวเป็นหลัก



ข้าวยำน้ำบูดู

ภาคใต้เป็นภาคที่ติดชายฝั่งทะลจึงหนีไปไม่ได้ที่จะเป็นอาหารทะเลจำพวก กุ้ง หอย ปู ปลา และนอกจากเนื้อสัตว์ที่เป็นสัตว์ทะเลยังมีพืชที่นิยมมาทำเป็นอาหารใต้นั่นก็คือ สะตอ นั่นเองซึ่งทางภาคใต้จะมีต้นสะตออยู่มากกว่าภาคอื่นๆ ซึ่งอาหารทางภาคใต้จะเป็นอาหารที่ค่อนข้างรสจัดมากกว่าภาคอื่นโดยหนีไม่พ้นเครื่องเทศต่างๆที่เป็นส่วนประกอบในการใส่ลงไปในอาหารทำให้อาหารมีรสจัด และสมุนไพรที่นิยมใส่มากก็คือ ขมิ้น ซึ่งจะสังเกตได้ว่าอาหารทางภาคใต้ส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง ซึ่งเป็นสีของขมิ้นนั่นเอง และอาหารขึ้นชื่ออีกอย่างของทางภาคใต้ที่ทุกคนไปแล้วต้องไปชิมนั่นก็คือ ข้าวยำ น้ำบูดู ซึ่งเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของทางภาคใต้เลยก็ว่าได้




     นอกจากอาหารแต่ละภาคซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละที่แล้วรสชาติก็จะแตกต่างกันไปตามภูมิภาคด้วย จึงทำให้อาหารไทยจึงมีความโดดเด่นและเป็นที่รูจักไปทั่วโลก ทำให้เป็นที่ถูกปากของคนไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งในบล๊อคนี้จะนำเสนอวิธีการทำอาหารไทยต่างๆรวมถึงของคาวและของหวานอันแสนอร่อย และแนะนำร้านอาหารต่างๆที่น่าสนใจทั่วทั้งประเทศไทย